วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถาปนิก Idol

สัมภาษณ์สถาปนิกในดวงใจ
พี่ ณรงค์ศักดิ์ ตามสุทรพานิช แห่ง บริษัท ARCHIPLAN
ซอย ปรีดี พนมยงค์42 สุขุมวิท71


     บริษัท ARCHIPLAN ของพี่ณรงค์ศักดิ์ ตามสุนทรพานิช เป็นออฟฟิศเล็กๆที่ดูสวยงามและอบอุ่นตั้งอยู่ในหมู่บ้านภายในซอยปรีดี42 เป็นสถานที่ที่ได้ทำการนัดพี่ณรงค์ศักดิ์เพื่อทำการขอสัมภาษณ์ เมื่อมาถึงก็เข้ามารอสักพักหนึ่งก่อนที่มีณรงค์ศักดิ์จะลงมาจากด้านบนออฟฟิศ


เริ่มสัมภาษณ์
พี่ณรงค์ศักดิ์จะถามว่าตรุษจีนไปเที่ยวไหนหรอ เปล่านะ

รัฐวิทย์    : ขอถามประวัติส่วนตัวพี่ณรงศักดิ์คร่าวๆครับ เรียนจบปีไหน ไปต่อปริญญาโทที่ไหน
พี่ณรงค์ศักดิ์ พี่รหัส 19 ไม่รู้ปีไหนอะ ปีนี้ 56 ก็ไปลบเอาสิ 555 แล้วพี่เรียนจบก็ได้ไปต่อโทที่USC อเมริกา สาขาสถาปัตยกรรม

รัฐวิทย์    :แล้วพอพี่เรียนจบพี่ทำงานเลยหรือเปล่าครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ :ทำเลย ๆ พี่ก็ทำอยู่ที่อเมริกา

รัฐวิทย์    : เห็นงานออกแบบพี่ในเว็บอันนั้นพี่ก็ออกแบบตั้งแต่อยู่อเมริกาเลยใช่ไหมครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ใช่ ก็ทำไว้ที่อเมริกา

รัฐวิทย์    : แล้วพี่ประกอบวิชาชีพสถาปนิกตั้งแต่เรียนจบถึงตอนนี้เลยหรือเปล่าครับ หรือมีเปลี่ยนไปทำงานด้านอื่นบ้าง
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ก็ทำอาชีพสถาปนิกมาตั้งแต่เรียนจบ แต่ถ้าถามว่ามีทำอาชีพอื่นมั้ย ก็มีอาชีพเอาตัวรอดบ้าง ขายรองเท้า ทำงานร้านขายเหล้า แต่ไม่ได้เปลี่ยนอะ อาชีพวกนั้นทำเล่นอะ ทำเอาตัวรอดตอนอยู่ที่นู้น แต่ก็ไม่เปลี่ยนอะเป็นสถาปนิกมาโดยตลอด

รัฐวิทย์    : แล้วพี่กลับมาที่ไหนปีไหนอะครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ปี 92

รัฐวิทย์    : แล้วพี่กลับมาทำงานที่ไทย ทำอะไร ที่ไหนบ้าง ครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : กลับมาก็มาเปิด ARCIPLAN ที่นี่เลย ARCHIPLAN ก็เป็นบริษัทจากที่อเมริกาแล้วพี่ก็ย้ายจากที่นู้นมาเปิด บริษัทที่นี่ ARCHIPLAN นี้ก็ตั้งแต่ปี 92ถึงตอนนี้เลย

รัฐวิทย์    : แล้วงานของ ARCIPLAN เมืองไทย ที่พี่คิดว่าโดดเด่น หรือเป็นตัวอย่างงานที่ดีพี่คิดว่า เป็นงานชิ้นไหนครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ก็ คงหนีไม่พ้น TK PARK แหละมั้ง




รัฐวิทย์    : ตั้งแต่เรียนจบมาถึงตอนนี้ ที่พี่ประกอบวิชาชีพสถาปนิก พี่มีอุปสรรค หรือ ปัญหาอะไรในการทำงานมั้งไหมครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ก็ไม่มี

รัฐวิทย์    : ก็คือมั่นคงมาตลอดเลยหรอครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ถามว่ามั่นคงมั้ย ก็ไม่เคยไม่มีงานนะ แต่มีอยู่ที่ว่ามีมากหรือมีน้อย

รัฐวิทย์    : แล้วในฐานะที่ผมเป็นรุ่นน้องที่กำลังจะจบออกไปพี่มีอะไรจะแนะนำในการประกอบวิชาชีพมั้ยครับ เช่น อุปสรรค ปัญหาต่างๆ ทีต้องระวังไว้
พี่ณรงค์ศักดิ์คุณตั้งใจคุณก็ไม่มีปัญหา แค่คุณตั้งใจทำงานก็ไม่มีปัญหา

รัฐวิทย์    : แล้วอย่างเรื่องภาษาแบบนี้หล่ะครับ อย่างภาษาอังกฤษ เรื่องที่กำลังจะเป็น AEC ด้วย
พี่ณรงค์ศักดิ์ก็ไม่น่าจะมีมั้ง อยู่ที่เราแหละ ถามว่าคนไทยพูดไม่ได้ ก็ไม่เกี่ยวนะ ก็เห็นคนไทยไปทำงานสิงคโปร์ตั้งเยอะแยะ ก็ไม่ใช่ว่จะพูดได้ 100% จะสื่อสารกับเค้ารู้เรื่อง ก็ไม่เห็นมีปัญหาหนิ

รัฐวิทย์    : ในการทำงานพี่มีข้อคิดและคติ ว่าอย่างไรบ้างครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ขยันอย่างเดียวอยู่รอด

รัฐวิทย์    : พี่มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่วิชาชีพอย่างเราต้องมีครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ก็เห็นว่ามันดีอยู่แล้ว จำเป็นต้องมี วิชาชีพอย่างเรามันก็ต้องมีอยู่แล้ว

รัฐวิทย์    : แล้วพวกเรื่องการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมหล่ะครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์คิด ก็จำเป็น เราต้องคิดถึงบ้าง เราต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รักษ์โลก เพื่อโลก

รัฐวิทย์    : ในฐานะที่พี่เป็นเจ้าของบริษัท พี่อยากให้สถาปนิกที่จบใหม่ออกมาเป็นไปในลักษณะไหนหรือพัฒนาไปด้านไหนบ้าง
พี่ณรงค์ศักดิ์ก็ต้องขยันอะ ขยันอย่างเดียว ไม่ขยันก็จบ

รัฐวิทย์    : แล้วอย่างรุ่นน้องที่จบจากลาดกระบัง ที่มาทำงานกับพี่ พี่มีความคิดเห็นอย่างไร พี่อยากให้คณะเราพัฒนาความรู้ด้านไหนบ้าง
พี่ณรงค์ศักดิ์พี่ไม่รู้นะ ไม่รู้หลักสูตรว่าตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ไม่รู้ว่าเค้าเน้นเรื่องนู้นเรื่องนี้มากเรื่องไหนน้อยเหมือนกันนะ พี่ว่ามันอยู่ที่นักเรียนมั้ง แต่ถามถามว่าเน้นอะไรผมว่า คือ ผมว่าเด็กต้องคิดเองเป็น หลักสูตรผมก็ไม่รู้ว่าเค้าเปลี่ยนอะไรไปมากมาย หรือ วางอะไรไว้แค่ไหน แต่ที่สำคัญเด็กต้องมีความรับผิดชอบ ต้องคิดเองเป็น สำคัญที่สุดมันอยู่ที่ความคิด ความอ่านของตัวคุณเองมากกว่า
อย่างบริษัทพี่นี้ก็มี พนักงานที่จบลาดกระบังทั้งหมด 8คน แต่ละคนเค้าก็มาเรียนรู้ ทุกคนเรียนจบมาได้ผมว่าเค้าก็มี ความรับผิดชอบ เอาใจใส่ อยู่แล้วระดับหนึ่ง แต่ละคนพื้นฐานก็ไม่เหมือนกัน แต่ละคนก็มีชีวิตส่วนตัวไม่เหมือนกัน บางคนบ้านไกลมาสายหน่อย ก็ไม่อะไร มันควรอยู่ที่ผลงานมากกว่า มันเป็นใครก็ได้ถ้าเค้ารับผิดชอบ คนทำงานดีไม่ดีมันไม่ได้อยู่แค่ที่วันนี้ วิชาชีพนี้มันยังไปได้อีกไกล

รัฐวิทย์    : แล้วพี่ได้ลองทำงานมาหลายบริษัทไหมครับ ทั้งตอนพี่อยู่ที่นี้แล้วก็ตอนพี่เรียนที่อเมริกา
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ทั้งหมดก็ทำไป 2-3 บริษัทนะตอนอยู่ที่นู้น แต่ที่ไทยก็ทำแค่ก่อนไปเรียนโท ไม่ถึงปีมั้ง ทำอยู่แปปเดียว

รัฐวิทย์    : อย่างตอนที่พี่ไปเรียนต่อปริญญาโทที่อเมริกา ถ้าผมอยากไปเรียนบ้างพี่ว่ามีความจำเป็นไหมครับ ที่ต้องทำงานก่อน ให้มีประสบการณ์
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ไม่จำเป็นหรอก มันอยู่ที่เหตุผลของมัน เหตุผลมันมีรึเปล่า ว่าจะทำงานหาเงิน หรือ มีเงินอยู่แล้ว หรือจะทำงานเพื่อสร้างผลงานเอาไปสมัครโรงเรียนดีดี หรืออยากจะมีประสบการณ์เพื่อไปทำต่อที่นู้นได้ เหตุผลมันแล้วแต่สถานภาพของแต่ละบุคคล

รัฐวิทย์    : อยากให้ช่วยเล่าประสบการณ์สมัยที่พี่เรียนที่ลาดกระบังให้ฟังหน่อยครับ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วตอนที่ไปเรียนที่อเมริกาเป็นอย่างไรบ้างครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ตอบในเชิงวิชาชีพนะ เมืองไทยให้อะไรได้บ้าง แต่ไม่ได้ให้อะไรหมด เราเด็กเกินที่เราจะรู้ว่ามันใช่ไม่ใช่ เพราะเรายังเรียนอยู่ แต่พอไปเรียนปริญญาโท คุณผ่านมาแล้ว คุณรู้อันไหนมันดีกว่า อันไหนมันควรจะได้ดีกว่า ตอนอยู่ลาดกระบังสมัยนั้นรุ่นนึงมี40คน ผมก็เป็นเด็กก็เที่ยว ทำงานใกล้ๆส่งตลอด ไม่อยู่หอ ทำงานก็ทำงานที่บ้าน ผมไม่ค่อยได้ค้าง แต่ทุกวันนี้เนี่ยประกอบวิชาชีพมันฟลูไทม์มาก ทั้งกลางวันกลางคืน เวลาส่วนตัวก็ต้องทำงาน

รัฐวิทย์    : แล้วพี่ได้กลับไปคณะบ่อยมั้ยครับ พี่ว่าคณะเราเมื่อก่อนตอนนี้พี่อยู่กับตอนนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเยอะไหมครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ก็กลับบ้างนะ นานนานที แต่ผมไม่ขอตอบดีกว่าเพราะผมก็ไม่ค่อยได้เข้าไปนานแล้ว อะไรมันเปลี่ยนแปลงไปบ้างผมก็ไม่แน่ใจ

รัฐวิทย์    : สุดท้ายพี่อยากจะฝากอะไรถึงน้องๆที่กำลังจะจบมาเป็นสถาปนิกในอนาคตบ้างไหมครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ตั้งใจ ขยัน ทำงาน เรียนหนังสือ แค่นั้นแหละ เหมือนที่พ่อแม่ คุณสอนคุณยังไงคุณทำแบบนั้นแหละ พ่อแม่คุณเป็นคนส่งเสียคุณ แกบอกให้คุณตั้งใจเรียนขยันเรียน ก็ทำสิ่งนั้น คุณขยันคุณก็ไปแล้วครึ่งหนึ่ง เมื่อก่อนผมว่าผมขยันนะ ผมเป็นคนขยัน ถึงผมจะเกเร ผมก็ขยันนะ ผมรับผิดชอบ ผมเชื่อว่าทุกอย่าง ถ้าคุณขยันคุณเอาใจใส่คุณไม่มีปัญหา

รัฐวิทย์    : พี่ครับ เดียวผมขอถ่ายรูปหน่อยครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ผมไม่ถ่ายนะ เอารูปตึกรูปอะไรผมไป ผมไม่ชอบถ่ายรูปนะ






วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Neo-Classic


สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่(Neoclassic)


          สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคใหม่(Neo-Classic) เป็นรูปแบบสถาปัยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากการเคลื่อนไหวของการเกิดศิลปะแบบคลาสสิคสมัยใหม่ เนื่องจากการเผด็จการทางการเมือง การต่อต้านการแบ่งชนชั้นในฝรั่งเศสและการที่ประชาชนได้รับความเจ็บปวดจากการเมืองทำให้ชาวยุโรปตะวันตกหันมาสนใจในศิลปะแบบคลาสสิคอีกครั้ง ประกอบกับการที่การพัฒนาด้านวิทยาการวิทยาศาสตร์ด้านโบราณคดีที่มากขึ้น เพราะขุดค้นพบเมืองกรีกโบราณ คือ เมืองเฮอคูลาเนียน (1738) และเมืองปอมเปอี (1748) ได้ ซึ่งพบศิลปะวัตถุที่มีค่า

            ศิลปะแบบคลาสสิคสมัยใหม่ เริ่มต้นในช่วงยุคกลางของศตวรรษที่ 18 ถึงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสมัยนั้นนิยมศิลปะแบบรอคโคโคและแบบบาร็อก ซึ่งมีลักษระที่ฟุ้งเฟ้อและมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมาก ในตอนต้นของยุคนี้จึงมีนำแนวความคิดรูปแบบศิลปะโบราณนำกลับมาใช้ใหม่ ลักษณะงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้จึงมีแนวคิดและการสร้างงานโดยการนำงานแบบโบราณมาปรับปรุงเกิดเป็นรูปแบบใหม่แต่ยังเคารพในกฏเกณฑ์แนวคิดที่เป็นแบบแผนนั้น ศิลปะในยุคนี้จะย้อนกลับไประลึกงานสมัยโรมัน และโดยเฉพาะศิลปะในรูปแบบอุดมคติของกรีก และยังได้รับหลักการที่คงความเป็นเหคุเป็นผลของช่วงยุคเรเนสซอง ศตวรรษที่ 16 มาด้วย




งานสถาปัตยกรรมแบบ Neo-Classic พบมากในยุโรปและได้รับความนิยมมากในฝรั่งเศส
รูปลักษณะที่ Neo- Classic นำมาใช้และสังเกตได้
1.Symmetrical shape (รูปร่างที่สมมาตร)
2.Tall column that rise the full height of building , colonian (เสาสูงขี้นไปจนเต็มความสูงอาคาร)
3.Triangular pediment (สามเหลี่ยมจั่วด้านหน้าอาคาร)
4.Domed roof (หลังคายอดโดม)

        สไตล์นีโอคลาสสิคเป็นรากฐานในการสถาปัตยกรรมโรมันและกรีก เช่นวิหาร Pantheon ซึ่งเป็นมีลักษณะระเบียงเป็นคอลัมน์โครินเธียและจั่วสามเหลี่ยมที่แนบมากับปลายของแขนตะวันออก การออกแบบของ วิหารPantheon เป็นตัวอย่างนีโอคลาสสิคที่ใช้ตรรกะอย่างเคร่งครัดขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมคลาสสิคประตูชัยโรมันเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาหลักของการแสดงออก Neo-Classic กับส่วนไตรภาคีของสี่เสาเท่ากับระยะห่างอย่างไม่มีที่เปรียบ ประตูชัยของคอนสแตนติโรม (AD. 315) จัดความคิดของคอลัมน์ 'เดี่ยว' กับบัวกลับมา

               สถาปัตยกรรมของกรีซและโรมโบราณแรงบันดาลใจการออกแบบ อาคารของสหรัฐ governement บ้านของประธานาธิบดีโทมัสเจฟเฟอร์สัน, Mount Vernon อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ, The White House, ศาลฎีกาสหรัฐและสหรัฐอเมริกาทุนเป็นเพียงไม่กี่ชิ้นของสถาปัตยกรรม Neo-Classical

The White House ,Washington DC,USA,Goverment building : James Hoban

    สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากยุคกรีกที่มีอิทธิพลต่อสถาปนิกในยุค Neo-classic นี้ในยุโรปมาหลายศตวรรษคือ  AVDREA  PALLADIO
             ซึ่งการออกแบบในยุคหลังจาก Neo-classic ได้มีการปรับใช้ให้เข้ากับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น เช่นนำมาปรับใช้เป็นอาคารทางราชการ เพราะเนื่องจากในยุคอาคารที่นิยมสร้างเป็นพวกอาคารทางศาสนา และที่พักสำหรับขุนนางหรือกษัตริย์


ประตูชัยฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Arc de triomphe de l'Étoile)(ค.ศ.1806) เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส อยู่ทางทิศตะวันตกของชองป์-เซลิเซ่ส์ แบบของประตูชัยนั้น ฌอง ชาลแกร็งเป็นผู้ออกแบบ ในรูปแบบศิลปะคลาสสิคใหม่ ที่ได้ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ ช่างแกะสลักที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในรูปแกะสลักของประตูชัยฝรั่งเศสด้วย

Exteriors:




Interiors:


Columns:





รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุค Neo-classic ในประเทศไทย


1.พระที่นั่งอนันตสมาคม
               พระที่นั่งอนันต์ นั้นงดงามด้วยศิลปะแบบอิตาเลียนเรเนอซองส์ ผสมกับศิลปะแบบนีโอคลาสสิค โดยรูปทรงของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เป็นแบบเดียวกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งโรม และโบสถ์เซนต์ปอล กรุงลอนดอน ช่วงบนของอาคารซึ่งเป็นรูปโดมซึ่งทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และโดมเล็กๆ อยู่รายรอบอีก 6 โดม ตัวอาคารสร้างจากหินอ่อนสีขาวริ้วลายสีน้ำตาลแก่แกมหม่น สั่งเข้ามาจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี อีกทั้งภายในยังงดงามไปด้วยภาพเขียนแบบเฟรสโก (ภาพเขียนสีบนปูนเปียก) บนเพดานโดม โดยฝีมือของจิตรกรชาวอิตาเลียน คือนายซี. รีโกลี และศาสตราจารย์กาลิเลโอ กินี โดยรูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่แสดงถึงเหตุการณ์เด่นๆ ในแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6


2.สถานีรถไฟกรุงเทพ(สถานีรถไฟหัวลำโพง)
            สถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง)เป็นอาคารที่สร้างจากรูปแบบสถานีรถไฟในทวีปยุโรป ตามอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ลักษณะอาคารใช้หลังคาเป็นโครงเหล็กรูปโค้งเกือบครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ห้องโถงใหญ่ทั้งหมด บริเวณส่วนกลางเป็นโค้งมุงด้วยวัสดุใสเพื่อให้เกิดแสงสว่างทั่วทั้งห้อง เน้นทางเข้าด้วยโถงยาวเท่าความกว้างของโครง หลังคาห้องโถงนี้ทำเป็นหลังคาแบน มีลูกกรงคอนกรีตโดยรอบ รองรับด้วยเสา 2 ต้นคู่ ตลอดระยะมีการประดับตกแต่งหัวเสาด้วยบัวหัวเสาแบบไอโอนิค ตามแบบคลาสสิค ตั้งอยู่เป็นระยะๆไป และมีห้องลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมอยู่ปลายสุดของโค้ง เพื่อหยุดความกว้างของโค้งอาคาร

 3.พระที่นั่งวโรภาษพิมาน (พระราชวังบางปะอิน)



              ถัดจากประตูเทวราชครรไลเข้ามาสู่เขตพระราชฐานชั้นนอก จะพบสถาปัตยกรรมแบบยุโรปทาสีส้มแซมเขียวหลังงามองค์หนึ่ง จัดเป็นพระที่นั่งประธานท่ามหมู่พระที่นั่งทั้งหมดในพระราชวังบางปะอิน เป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างของนายช่างอิตาเลียนนาม ซินยอร์กราซี (มิสเตอร์กราซี) ซึ่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๔๑๙ พร้อม ๆ กับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์
                ซินยอร์กราซีเลือกเอาศิลปะนีโอคลาสสิก ในรูปแบบนีโอเรอเนซองซ์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนั้น มาใช้กับพระที่นั่งองค์นี้ หัวใจของสถาปัตยกรรมสมัยนีโอคลาสสิกก็คือ การหวนกลับไปเลียนแบบความรุ่งโรจน์แห่งอดีตในยุคคลาสสิค "กรีก-โรมัน" ดังปรากฏที่มุขด้านหน้าของพระที่นั่งได้ทำเลียนแบบวิหารของกรีกสมัยเฮเลนนิสติก (หรือกรีกตอนปลาย) นั่นคือการใช้หัวเสาแบบโยนิก (ตกแต่งด้วยวงโค้งก้านขด) และหัวเสาแบบคอรินเธียน (เป็นรูปใบอะคันธัสซ้อนกันหลายชั้น) รองรับหน้าบันรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ในขณะเดียวกันก็ได้มีการนำเอาศิลปะเรอเนซองซ์สกุลช่างฝรั่งเศส มาผสมผสานด้วยในส่วนของหอคอยขนาดย่อมที่มีหลังคาทรงพีระมิดตัด ปลายยอดเป็นมงกุฎซึ่งประดับอยู่ตามมุมอาคารทั้งนี้ ซินยอร์กราซีคงเห็นว่า ลำพังเพียงแค่ชาลามุขแบบนีโอคลาสสิกกรีกนั้น ยังดูไม่หรูหราพอสำหรับสถานภาพของ "ท้องพระโรง"
              พระที่นั่งวโรภาษพิมานมีความสูงเพียงชั้นเดียว ลักษณะเป็นห้องโถงแบบใช้รับรองแขก ปัจจุบันยังคงใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐาน


     
อ้างอิง : 
http://www.worldofleveldesign.com/categories/architecture/neoclassical/neoclassical_architecture.php
http://www.architecture411.com/notes/note.php?id_note=6
http://en.wikipedia.org/wiki/Neoclassical_architecture