สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่(Neoclassic)
ศิลปะแบบคลาสสิคสมัยใหม่ เริ่มต้นในช่วงยุคกลางของศตวรรษที่ 18
ถึงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสมัยนั้นนิยมศิลปะแบบรอคโคโคและแบบบาร็อก ซึ่งมีลักษระที่ฟุ้งเฟ้อและมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมาก
ในตอนต้นของยุคนี้จึงมีนำแนวความคิดรูปแบบศิลปะโบราณนำกลับมาใช้ใหม่
ลักษณะงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้จึงมีแนวคิดและการสร้างงานโดยการนำงานแบบโบราณมาปรับปรุงเกิดเป็นรูปแบบใหม่แต่ยังเคารพในกฏเกณฑ์แนวคิดที่เป็นแบบแผนนั้น
ศิลปะในยุคนี้จะย้อนกลับไประลึกงานสมัยโรมัน
และโดยเฉพาะศิลปะในรูปแบบอุดมคติของกรีก
และยังได้รับหลักการที่คงความเป็นเหคุเป็นผลของช่วงยุคเรเนสซอง ศตวรรษที่ 16
มาด้วย
งานสถาปัตยกรรมแบบ
Neo-Classic พบมากในยุโรปและได้รับความนิยมมากในฝรั่งเศส
รูปลักษณะที่
Neo- Classic นำมาใช้และสังเกตได้
1.Symmetrical
shape (รูปร่างที่สมมาตร)
2.Tall
column that rise the full height of building , colonian
(เสาสูงขี้นไปจนเต็มความสูงอาคาร)
3.Triangular
pediment (สามเหลี่ยมจั่วด้านหน้าอาคาร)
4.Domed
roof (หลังคายอดโดม)
สไตล์นีโอคลาสสิคเป็นรากฐานในการสถาปัตยกรรมโรมันและกรีก เช่นวิหาร Pantheon ซึ่งเป็นมีลักษณะระเบียงเป็นคอลัมน์โครินเธียและจั่วสามเหลี่ยมที่แนบมากับปลายของแขนตะวันออก การออกแบบของ วิหารPantheon เป็นตัวอย่างนีโอคลาสสิคที่ใช้ตรรกะอย่างเคร่งครัดขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมคลาสสิคประตูชัยโรมันเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาหลักของการแสดงออก
Neo-Classic กับส่วนไตรภาคีของสี่เสาเท่ากับระยะห่างอย่างไม่มีที่เปรียบ
ประตูชัยของคอนสแตนติโรม (AD. 315) จัดความคิดของคอลัมน์ 'เดี่ยว' กับบัวกลับมา
สถาปัตยกรรมของกรีซและโรมโบราณแรงบันดาลใจการออกแบบ อาคารของสหรัฐ governement บ้านของประธานาธิบดีโทมัสเจฟเฟอร์สัน,
Mount Vernon อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ, The White House, ศาลฎีกาสหรัฐและสหรัฐอเมริกาทุนเป็นเพียงไม่กี่ชิ้นของสถาปัตยกรรม Neo-Classical
The White House ,Washington DC,USA,Goverment building : James Hoban |
สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากยุคกรีกที่มีอิทธิพลต่อสถาปนิกในยุค
Neo-classic นี้ในยุโรปมาหลายศตวรรษคือ AVDREA PALLADIO
ซึ่งการออกแบบในยุคหลังจาก
Neo-classic ได้มีการปรับใช้ให้เข้ากับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
เช่นนำมาปรับใช้เป็นอาคารทางราชการ
เพราะเนื่องจากในยุคอาคารที่นิยมสร้างเป็นพวกอาคารทางศาสนา
และที่พักสำหรับขุนนางหรือกษัตริย์
Exteriors:
Interiors:
Columns:
รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุค Neo-classic ในประเทศไทย
1.พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระที่นั่งอนันต์ นั้นงดงามด้วยศิลปะแบบอิตาเลียนเรเนอซองส์ ผสมกับศิลปะแบบนีโอคลาสสิค โดยรูปทรงของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เป็นแบบเดียวกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งโรม และโบสถ์เซนต์ปอล กรุงลอนดอน ช่วงบนของอาคารซึ่งเป็นรูปโดมซึ่งทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และโดมเล็กๆ อยู่รายรอบอีก 6 โดม ตัวอาคารสร้างจากหินอ่อนสีขาวริ้วลายสีน้ำตาลแก่แกมหม่น สั่งเข้ามาจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี อีกทั้งภายในยังงดงามไปด้วยภาพเขียนแบบเฟรสโก (ภาพเขียนสีบนปูนเปียก) บนเพดานโดม โดยฝีมือของจิตรกรชาวอิตาเลียน คือนายซี. รีโกลี และศาสตราจารย์กาลิเลโอ กินี โดยรูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่แสดงถึงเหตุการณ์เด่นๆ ในแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6
2.สถานีรถไฟกรุงเทพ(สถานีรถไฟหัวลำโพง)
สถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง)เป็นอาคารที่สร้างจากรูปแบบสถานีรถไฟในทวีปยุโรป ตามอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ลักษณะอาคารใช้หลังคาเป็นโครงเหล็กรูปโค้งเกือบครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ห้องโถงใหญ่ทั้งหมด บริเวณส่วนกลางเป็นโค้งมุงด้วยวัสดุใสเพื่อให้เกิดแสงสว่างทั่วทั้งห้อง เน้นทางเข้าด้วยโถงยาวเท่าความกว้างของโครง หลังคาห้องโถงนี้ทำเป็นหลังคาแบน มีลูกกรงคอนกรีตโดยรอบ รองรับด้วยเสา 2 ต้นคู่ ตลอดระยะมีการประดับตกแต่งหัวเสาด้วยบัวหัวเสาแบบไอโอนิค ตามแบบคลาสสิค ตั้งอยู่เป็นระยะๆไป และมีห้องลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมอยู่ปลายสุดของโค้ง เพื่อหยุดความกว้างของโค้งอาคาร
ถัดจากประตูเทวราชครรไลเข้ามาสู่เขตพระราชฐานชั้นนอก จะพบสถาปัตยกรรมแบบยุโรปทาสีส้มแซมเขียวหลังงามองค์หนึ่ง จัดเป็นพระที่นั่งประธานท่ามหมู่พระที่นั่งทั้งหมดในพระราชวังบางปะอิน เป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างของนายช่างอิตาเลียนนาม ซินยอร์กราซี (มิสเตอร์กราซี) ซึ่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๔๑๙ พร้อม ๆ กับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์
ซินยอร์กราซีเลือกเอาศิลปะนีโอคลาสสิก ในรูปแบบนีโอเรอเนซองซ์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนั้น มาใช้กับพระที่นั่งองค์นี้ หัวใจของสถาปัตยกรรมสมัยนีโอคลาสสิกก็คือ การหวนกลับไปเลียนแบบความรุ่งโรจน์แห่งอดีตในยุคคลาสสิค "กรีก-โรมัน" ดังปรากฏที่มุขด้านหน้าของพระที่นั่งได้ทำเลียนแบบวิหารของกรีกสมัยเฮเลนนิสติก (หรือกรีกตอนปลาย) นั่นคือการใช้หัวเสาแบบโยนิก (ตกแต่งด้วยวงโค้งก้านขด) และหัวเสาแบบคอรินเธียน (เป็นรูปใบอะคันธัสซ้อนกันหลายชั้น) รองรับหน้าบันรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ในขณะเดียวกันก็ได้มีการนำเอาศิลปะเรอเนซองซ์สกุลช่างฝรั่งเศส มาผสมผสานด้วยในส่วนของหอคอยขนาดย่อมที่มีหลังคาทรงพีระมิดตัด ปลายยอดเป็นมงกุฎซึ่งประดับอยู่ตามมุมอาคารทั้งนี้ ซินยอร์กราซีคงเห็นว่า ลำพังเพียงแค่ชาลามุขแบบนีโอคลาสสิกกรีกนั้น ยังดูไม่หรูหราพอสำหรับสถานภาพของ "ท้องพระโรง"
พระที่นั่งวโรภาษพิมานมีความสูงเพียงชั้นเดียว ลักษณะเป็นห้องโถงแบบใช้รับรองแขก ปัจจุบันยังคงใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐาน
ซินยอร์กราซีเลือกเอาศิลปะนีโอคลาสสิก ในรูปแบบนีโอเรอเนซองซ์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนั้น มาใช้กับพระที่นั่งองค์นี้ หัวใจของสถาปัตยกรรมสมัยนีโอคลาสสิกก็คือ การหวนกลับไปเลียนแบบความรุ่งโรจน์แห่งอดีตในยุคคลาสสิค "กรีก-โรมัน" ดังปรากฏที่มุขด้านหน้าของพระที่นั่งได้ทำเลียนแบบวิหารของกรีกสมัยเฮเลนนิสติก (หรือกรีกตอนปลาย) นั่นคือการใช้หัวเสาแบบโยนิก (ตกแต่งด้วยวงโค้งก้านขด) และหัวเสาแบบคอรินเธียน (เป็นรูปใบอะคันธัสซ้อนกันหลายชั้น) รองรับหน้าบันรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ในขณะเดียวกันก็ได้มีการนำเอาศิลปะเรอเนซองซ์สกุลช่างฝรั่งเศส มาผสมผสานด้วยในส่วนของหอคอยขนาดย่อมที่มีหลังคาทรงพีระมิดตัด ปลายยอดเป็นมงกุฎซึ่งประดับอยู่ตามมุมอาคารทั้งนี้ ซินยอร์กราซีคงเห็นว่า ลำพังเพียงแค่ชาลามุขแบบนีโอคลาสสิกกรีกนั้น ยังดูไม่หรูหราพอสำหรับสถานภาพของ "ท้องพระโรง"
พระที่นั่งวโรภาษพิมานมีความสูงเพียงชั้นเดียว ลักษณะเป็นห้องโถงแบบใช้รับรองแขก ปัจจุบันยังคงใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐาน
อ้างอิง :
http://www.worldofleveldesign.com/categories/architecture/neoclassical/neoclassical_architecture.php
http://www.architecture411.com/notes/note.php?id_note=6
http://en.wikipedia.org/wiki/Neoclassical_architecture
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น